วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คลิปการฝึกนกแก้ว1

อ้าง อิงจาก http://www.youtube.com/watch?v=wqRqtG0leO0

คลิปนกแก้วแสนรู้



อ้างอิงจาก http://www.youtube.com/watch?v=wqRqtG0leO0

คลิปนกแก้วพูดได้



อ้างอิงจาก http://www.youtube.com/watch?v=wqRqtG0leO0

คลิปนกแก้วมาคอว์



อ้างอิงจาก http://www.youtube.com/watch?v=wqRqtG0leO0

คลิปการฝึกนกแก้วให้บิน



อ้างอิงจาก http://www.youtube.com/watch?v=wqRqtG0leO0

คลิปการฝึกนกแก้ว



อ้างอิงจาก http://www.youtube.com/watch?v=wqRqtG0leO0

คลิปการป้อนอาหารลูกนกแก้ว



อ้างอิงจาก http://www.youtube.com/watch?v=wqRqtG0leO0

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การดูแลลูกนกแก้ว

 การดูแลลูกนกแก้ว


การดูแลลูกนกแก้วโดยมนุษย์ มีข้อมูลที่ท่านเจ้าของต้องทราบข้อมูลที่ถูกต้องและลงในรายละเอียด ดังนี้ 
1.สิ่งแวดล้อม ที่ลูกนกอยู่ไม่ว่าจะเป็นในโพรงรังที่พ่อแม่เลี้ยงเองว่ามีการเปลี่ยนสิ่งปูรองหรือไม่ เพราะรังที่สกปรกจะทำให้ลูกนกป่วยได้ง่ายมาก หรือรังที่พ่อแม่นกใช้มานานจนเก่าผุพังน้ำรั่ว หรือมีแมลงสาบ หนูบ้านเข้าไปได้หรือไม่ เพราะเหล่านี้จะพาโรคและอันตรายเข้าไปสู่ลูกนกได้ แต่ถ้าเก็บไข่มาฟักเองเราก็ต้องดูความสะอาดของห้อง เลี้ยงลูกนกแออัดเกินไปหรือไม่ ทำความสะอาดเป็นประจำหรือไม่ เคยมีโรคระบาดหรือไม่ ตู้อบลูกนกก็ต้องมีการเช็ดทำความสะอาดหรืออบฆ่าเชื้อ อย่างน้อยปีละ ๓ ครั้ง กรงต้องมีการทำความสะอาดทุกวัน อุณหภูมิห้องเลี้ยงและตู้อบไม่ควรจะต่ำกว่า ๓๐-๓๖ องศาเซลเซียส เพราะทำให้ลูกนกอบอุ่นและเติบโตได้ดีไม่ป่วยง่าย ความชื้นในตู้อบลูกนกก็ต้องอ้างอิงตาม สายพันธุ์ของนกชนิดนั้นๆแต่โดยปกติไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
2.วันที่ลูกนกจะเปิดเปลือกตา  จะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น ในนกแก้วมาคอว์ประมาณ ๑๔-๒๘ วัน นกกระตั๊ว ๑๐- ๒๑ วันและนกแก้ว Amazon ๑๔-๒๑ วัน ส่วนช่องหูนกส่วนใหญ่จะเปิดมาตั้งแต่ฟักจากไข่แต่ในนกแก้วมาคอว์ผิวหนังบริเวณส่วนหูจะเปิดเมื่ออายุประมาณ ๒๓ วัน
3.สิ่งปูรอง  ต้องสะอาด ความสามารถในการดูดซับของเสีย ความสะดวกในการซื้อหาต้องมีขายตลอดปี ลูกนกชอบหรือไม่อันนี้ผู้เลี้ยงต้องสังเกตเอาเอง ราคาต้องไม่สูงมากเกินไปเพราะต้องใช้ตลอดปี
4.เครื่องมือในการเลี้ยง  ถังเลี้ยงต้องเป็นพลาสติกเพราะทำความสะอาดได้ง่าย ช้อนสแตนเลสดีที่สุด ไม่แนะนำพลาสติกเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย กระบอกฉีดยาควรเตรียมไว้เป็นจำนวนมาก เพราะต้องเปลี่ยนใหม่ทุก ๑-๒ สัปดาห์ สายป้อนอาหาร ที่นิยมกันคือใช้ยางไส้ไก่ จักรยาน แต่มักหลุดเข้าไปใน กระเพาะพักของลูกนก จนต้องลำบากให้สัตวแพทย์ผ่าออกอยู่เสมอ ในปัจจุบันมีสายป้อนอาหารขนาดใหญ่ และสะดวกต่อการป้อนอาหารลูกนกมาก เทอร์โมมิเตอร์ใช้วัดทั้งอุณหภูมิอาหารและอุณหภูมิห้องเลี้ยงลูกนก น้ำยาฆ่าเชื้อเลือกที่สามารถฆ่าได้ทั้งแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัสได้ และที่สำคัญสามารถใช้สัมผัสตัวลูกนกได้ ซึ่งมีให้เลือกหลายยี่ห้อ เครื่องทำความร้อนหรือกาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า ใช้อุ่นน้ำให้ร้อนอยู่ตลอดเวลาไว้ชงอาหารลูกนก ตาชั่งใช้ชั่งอาหารตามสัดส่วนความเข้มข้นที่กำหนดไว้และชั่งลูกนกเพื่อจดบันทึกการเติบโตทุกวัน
5.อาหาร  เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารต่างประเทศดีกว่าของไทยมาก คุณภาพขึ้นกับราคา น้ำจะใช้น้ำประปามาต้ม เพื่อชงอาหารป้อนลูกนก แต่ถ้าใช้น้ำบาดาลควรต้มหรือผ่านเครื่องกรองให้ดีเสียก่อนนำมาใช้ ส่วนวิตามิน อาหารเสริมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้หรือผักสดชนิดต่างๆ ก็สามารถนำมาป่นและผสมกับอาหารป้อนลูกนกได้  





อ้างอิงจาก http://kah.kasetanimalhospital.com/index.php/home/general-articles/item/42-




โรคที่เกิดกับนกแก้ว

โรคบิด ภัยร้ายของนกสวยงาม

                นำมาให้รู้กันอีกครั้ง สำหรับรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับโรคบิด ภัยแฝงเข้ามาสร้างปัญหากับสุขภาพนกภายในฟาร์มอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ สังเกตไม่ทันหรือสับสน ระหว่างโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียอื่นๆอีกหลายๆโรค ทำให้การเลือกใช้ยาแก้ปัญหาไม่ถูกต้อง จึงไม่สามารถหยุกความเสียหายได้ จึงนำรายละเอียดมาเสนอ เพื่อเป็นแนวทางควบคุมปัญหาโรคบิดในนกสวยงาม ซึ่งโรคนี้มีความสำคัญมากเพราะหากเกิดขึ้นแล้วรักษาไม่ถูกต้องหรือไม่ทันเวลา มีโอกาสทำให้นกเสียชีวิตได้ แม้ว่าอัตราการตายจะไม่มาก แต่ก็มีผลทำให้สุขภาพทรุดโทรม การเติบโตหยุดชะงัก ความสมบูรณ์ของร่างกายน้อยลง ทั้งรูปร่าง สีขน การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ในเชิงลึก พร้อมกับหาทางป้องกันอย่างถูกต้องจะลดปัญหาให้กับผู้เลี้ยงได้
โรคบิด (Coccidiosis)
สาเหตุเกิดจากเชื้อ โปรโตซัวร์ตระกูลไอเมอเรีย (Eimerial) และไอโซสปอรา (Isospora) เชื้อทั้งสองชนิดมีวงจรชีวิตแบบไม่ต้องผ่านโฮสต์กึ่งกลาง (Direct live cycle) มีการตรวจพบเชื้อหลายชนิดในนกหลายประเภท แต่ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค ไอเมอเรียพบบ่อยในวงศ์ไก่และพิราบ ไอโซสปอรา พบบ่อยในวงศ์นกแก้ว นกฟิ้นซ์ นกคานารี นกทูแคน เชื้อที่มีการรายงานว่าก่อโรคได้แก่ ไอเมอเรีย ดุงซินกิ ในนกหงส์หยก ไอเมอเรีย แล็ปเบียนา ในนกพิราบ ไอโซสปอรา เซอรินิ และไอโซสปอรา คานาเรีย ในนกคานารี
การติดต่อและระยะฟักตัว
ติดต่อโดยการกินน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อบิด ระยะฟักตัวของโรค แตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อ
อาการและรอยโรค
อาการที่พบคล้ายกันในนกทุกชนิด คือ เบื่ออาหาร ผอม ขนยุ่ง ท้องร่วง มีมูกและเลือดปนในอุจจาระ ท้องบวมเนื่องจากลำไส้ใหญ่ขยาย นกอาจมีอาการทางประสาท เนื่องจากภาวะกลูโคสในเลือดต่ำ และการเสียสมดุลของเกลือแร่ นกอาจตายหลังจากการติดเชื้อ 1 สัปดาห์ จากการชันสูตรซากพบลำไส้ใหญ่ขยายใหญ่ เยื่อเมือกของลำไส้มีเลือดคั่ง และพบจุดเลือดออก 
การวินิจฉัยโรค
เนื่องจากเชื้อบิดที่ตรวจพบจำนวนมากในนกไม่ก่อให้เกิดโรค ดังนั้นการตรวจพบโอโอซีสต์ ในอุจจาระ โดยไม่พบอาการป่วยจึงไม่สามารถวินิจฉัยว่านกป่วยเป็นโรคบิด การวินิจฉัยโรคขึ้นอยู่กับการตรวจพบอาการทางคลินิก ร่วมกับการตรวจพบโอโฮซีสต์จำนวนมากในอุจจาระโดยทั่วไปโอโอซีสต์ มีขนาดเล็กกว่า 45 ไมครอน รูปร่างกลมหรือรูปไข่ เปลือกอาจเรียบหรือเป็นตุ่ม หรือเป็นหลุม ไม่มีสีจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ภายในโอโอซีสต์ของไอเมอเรียมี 4 สปอโรซีสต์ และภายในสปอโรซีสต์ มี 2 สปอโรซอยท์ ในกรณีที่ทำการชันสูตรซากให้ขูดตรวจเยื่อเมือกของลำไส้ที่พบรอยโรค เพื่อตรวจหาโอโอซีสต์ และระยะอื่นๆของเชื้อบิด เช่น Microgametocyte Macrogametocyte และ Merozoite
การป้องกันและรักษา
การป้องกันทำได้โดยการตรวจอุจจาระ และการกักกันโรคก่อนนำนกใหม่เข้าฝูง รวมถึงสุขศาสตร์ในการเลี้ยง การรักษาโรคทำโดยการให้ amprolium 2 มิลลิกรัม ผสมน้ำ 1 แกลลอน ให้กินติดต่อกันนาน 5-10 วัน หรือให้ยา 3 วัน จากนั้นหยุดยา 3 วัน แล้วให้ต่ออีก 3 วัน และให้ Sulfamethoxazole และ Trimethoprim กินวันละครั้งเป็นเวลา 5 วัน การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโรคบิด และมีความสามารถแยกแยะให้เห็นได้ถึงความแตกต่างจากโรคอื่นได้จะทำให้ผู้เลี้ยงมีข้อมูลและแนวทางในการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป


 

ที่อยู่อาสัยและการเลี้ยงดู

ที่อยู่อาศัยและวิธีเลี้ยง


เลี้ยงโดยให้เกาะอยู่บนคอน

ขาตั้งและคอนสำหรับนกแก้วนั้น จะทำให้นกรู้สึกอิสระและออกกำลังกายได้สะดวก คอนควร ทำด้วยวัสดุเนื้อแข็ง ถ้าคอนเป็นไม้ปลายทั้งสองควรหุ้มด้วยโลหะ มิฉะนั้นนกจะฉีกแทะเล่น ในกรณีที่นกยังไม่เชื่องพอ ควรใช้กำไลสวมข้อเท้าซึ่งติดกับโซ่สวมไว้ก่อน และควรขลิบปีก เสียข้างหนึ่งเพื่อป้องกันนกบินหนี บริเวณขนที่จะต้องตัดออกคือขนปีกชั้นที่ 1 ทั้ง 5 โดย ขลิบออกประมาณ 1 นิ้ว
เลี้ยงด้วยกรงภายใน






























ในกรณีที่นกแก้วเป็นนกรูปร่างเล็ก ขนาดของกรงโดยทั่วไปแล้วไม่ควรมีขนาดกว้างสูง ต่ำ กว่า 2x3 ฟุต ขนาดของกรงนั้นจะเหมาะสมกับนกหรือไม่สังเกตได้จากเมื่อนกเกาะอยู่กลาง กรง หากนกมีโอกาสกางปีกออกได้สะดวก โดยไม่ติดกับกรงหรือคอน ก็จัดได้ว่ามีความพอดี
เลี้ยงด้วยกรงภายนอก
การเลี้ยงนกแก้วด้วยกรงภายนอกนั้นเป็นการดียิ่งสำหรับสุขภาพนก เพราะนกได้อยู่กับสิ่งแวด ล้อมคล้ายกับถิ่นเดิม อากาศโปร่งบริสุทธิ์ นกออกกำลังกายได้ตลอดเวลาแต่ต้องคำนึงถึงแสง แดดและฝน อย่าให้โดนมากเกินไป

 


อ้างอิงจาก http://pet.kapook.com/view4314.html

ชนิดและพันธุ์ของนกแก้ว

 ชนิดและพันธุ์นกแก้ว

 

1.ครอบครัวแพร์รัทส์ (Parrot)






 2.พันธุ์คอคคาทู (Cockatoos)





   
 ลักษณะทั่วไป
เกรท ซัลเฟอร์-เครสท์ ลำตัวเป็นสีขาว  บนศรีษะหรือหงอนนั้นมีสีเหลืองคล้ายสีกำมะถัน จึงมีชื่อเรียกตามลักษณะว่า"หงอนเหลือง" บริเวณใต้คางและปีกก็มีสีเหลืองแต้มเป็นจุด ๆ ขนาดของลำตัววัดจากจะงอยปาก จนถึง ปลายหางยาวประมาณ 20นิ้ว
อุปนิสัย
เป็นนกที่แข็งแรง กินอาหารเก่ง กล่าวกันว่านกแก้วชนิดนี้มีอายุยืนถึง138ปี
การผสมพันธุ์
 การผสมพันธุ์ของนกแก้วชนิดนี้ ต้องปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติอย่างอิสระ ไม่มีอะไรมารบกวน  อีกชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเหมือนนกแก้วชนิดนี้มาก คือ เลซเซ่อร์ ซัลเฟอร์-เครสท์ (Lesser-Sulphur-crested) จัดเป็นนกแก้วชนิดหงอนเหลืองเหมือนกันแต่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีความยาว เพียง 12 นิ้วครึ่ง นิสัยดี ผสมพันธุ์กันได้ง่าย นกทั้งสองชนิดนี้มีความสามารถฝึกสอนให้พูดได้ 

     3.พันธุ์มาคอว์ (Macaws)


 
 ลักษณะ ขน  
 มีสี เขียวออกผสมสีเหลืองคล้าย Militaryสีเขียวทหาร หน้าอกท้อง และด้านในของปีก สีที่หัวจรดปลายหางด้านหลัง จะเป็นสีเขียวทหารส่วนหัวบนสุดจะมีสีแดงอยู่ ที่แก้มมีแดงและที่หัวไหล่ด้วยหางทางด้านบนสีเขียวผสมสีเหลืองด้านใต้สีเหลืองเข้มผสมสีฟ้า
ลักษณะปาก    มีสีดำสนิททั้งปากบนปากล่าง
ลักษณะหน้า  
 เป็นหนังนิดหน่อยมีขนมากสีออกชมพูเข้มมีลายขนที่หน้าสีดำเรียงเป็นแถวเหมือนเส้นประด้านล่างใต้ตาสีดำและด้านบนตาสีแดงมี 4-5แถว
ลักษณะขา 
               สีเทา จะงอยคือสีเทา-สีดำ มาคอว์ชอบหากินบริเวณที่มีต้นปาล์ม นานาชนิด ซึ่ง ต้นปาล์ม เหล่านี้ เป็นอาหารหลัก ของมันเอง แต่ เฉพาะ Large Macaw เท่านั้น ที่สามารถ กิน Palm nut ได้ เพราะว่า มันมีเปลือกที่หนามากอาหารในป่า สำหรับ มาคอว์ นอกจาก Palm nut แล้วยังมี ผลไม้ ป่า และ ลูก berries และ Flower buds ด้วย กรงเพาะ ( Breeding Cage) ที่เหมาะสมสำหรับ เพาะ พันธุ์ คือ ขนาด กว้าง 2 เมตร x สูง 2 เมตร x ลึก 3 เมตร หรือใหญ่ กว่า 
    4.พันธุ์เลิฟเบิรด์ (Lovebird)

   
นกเลิฟเบิร์ด เป็นนกแก้วที่ตัวเล็ก มีสายพันธ์ แยกเป็น 9 ชนิด มีถิ่นกำเนิดจากทวีป แอฟริกา เป็นนกที่มีเสน่ห์ ขี้เล่น จะอยู่กันเป็นคู่ มีสีสันมากมาย เริ่มต้นทีแรกเลยจะเป็นสีเขียว แล้วคนนำมาเพาะเลี้ยงแล้วพัฒนาสายพันธ์ ผสมออกมามีสีต่างๆ มากมายจนตอนนี้มีสีม่วงแล้ว อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 15 - 20 ปี ประเทศไทยสามารถเพาะพันธ์นกได้ตลอดทั้งปี
ทั้งนี้ นกเลิฟเบิร์ด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบบไม่มีขอบตา(Peachface Lovebirds) และมีขอบตา (Fischer Lovebirds) นกเลิฟเบิร์ดแบบมีขอบตา รอบดวงตาจะเป็นสีขาว

           5.พันธุ์พาร์ราคีท (Parrakeets)

นกแก้ว


การเลี้ยงนกแก้ว
นกแก้ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psittacus torquata) แยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่า 500 ชนิด มีพื้นเพที่อยู่อาศัยตั้งเดิมอยู่ในป่าทึบ ในเขตร้อนของประเทศ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย หมู่เกาะมลายู แอฟริกา ทางใต้ของทิศ เหนือของอเมริกา อินเดีย นอกจากนี้แล้วยังพบทางแถบตะวันตกของอินเดียโดยทั่วไป นกในตระกูลนกแก้วนั้น มักมีความแตกต่างไปจากนกตระกูลอื่นอยู่อย่างหนึ่ง คือ จงอย ปากตอนบนของนกแก้วสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่รวมกับหน้าผาก (ขากรรไกร) และมี ลักษณะเด่นได้แก่ ปากคมแข็ง จงอยปากงุ้มเข้าโคนใหญ่ปลายแหลมน่ากลัว เท้ามีนิ้วข้าง หลังสองนิ้วและข้างหน้าสองนิ้วทุกนิ้วมีเล็บที่แหลมคม สามารถใช้เท้าจับกิ่งไม้ได้เหนียวแน่น ปีนป่ายคันไม้ได้เก่งเป็นพิเศษ และในบางโอกาสยังสามารถจับฉีกอาหารได้ด้วย ปาก ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ขนเป็นสีเขียว สามารถ นำมาฝึกสอนให้พูดภาษาของมนุษย์ได้แทบทุกชนิด
สำหรับรังและที่อยู่อาศัยของนกแก้วโดยทั่วไปมักอยู่ตามในโพรงไม้ หรือโพรงหิน ไม่นิยมใช้วัสดุต่าง ๆ ทำรัง นกจากนกแก้ว เควเคอร์(Quaker Parrakeet) และ นกแก้ว อัฟเบริด์ (Lovebirds) นกแก้วทั้ง 2 ชนิดนี้ นิยมทำรังโดยใช้แขนงหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ เศษ หญ้า เปลือกไม้โดยนำมาสานประกอบขึ้นเป็นรังเป็นนกปากงุ้มเป็นขอในวงศ์ Psittacidae ตัวสีเขียว ปากแดง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นกแก้วโม่ง (Psittacula eupatria) แก้วหัวแพร (P. roseata) นกมาคอว์ อาหารที่ชอบกินคือผลไม้ โดยนกแก้วมีหลายชนิดและมีสีสดใส ส่วนมากเราจะเห็นนกแก้วมีสีแดง สีน้ำเงิน สีฟ้า
นกที่คนไทยชอบเลี้ยงมาแต่โบรานมีนกแก้วรวมอยู่ด้วย เพราะนกแก้วสามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้ กล่าวกันว่ามันมีความจำดี เรียนรู้ได้เร็ว ถ้าพูดอะไรให้ฟังบ่อยๆก็สามารถพูดได้ กล่าวกันว่าเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทับไปบุกอินเดียได้ทอดพระเนตรเห็นนกแก้วเข้า ก็ชอบพระทัยได้ทรงนำกลับยุโรปด้วย และในไม่ช้าก็เป็นที่นิยมมาก ด้วยเหตุนี้ในสมัยนั้นนกแก้วจึงมีราคาแพงมาก จึงได้มีการค้าขายนกแก้วทั้งในยุโรปและเอเชีย การที่คนเราชอบเลี้ยงนกแก้วนั้นเห็นจะเป็นเพราะเหตุ 4 ประการ
1. นกแก้วมีสีสวย รูปร่างงดงาม
2. สามารถพูดเลียนภาษามนุษย์ได้
3 .เลี้ยงง่าย
4. อายุยืน อย่างในเรื่อง Popular Pet Birds ของ R.P.N. Sinha กล่าวว่า นกแก้วมีอายุยืนมาก อาจอยู่ได้ถึง 70 ปี